Eco KM

แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design Ideation)
ผศ.ประชิด ทิณบุตร
        เครือข่ายการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจไทย ( 2559) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจเอาไว้ว่า การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Ecological Design or Eco Design) หมายถึง วิธีการออกแบบอย่างครบวงจรโดยผนวกแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic) และด้านสิ่งแวดล้อม(Environment) นับตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ และการกำจัดทิ้งหลังการใช้งาน เพื่อลดต้นทุนในทุกขั้นตอน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางที่สอดคล้องและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ ซึ่งมีความหมายรวมถึง การวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน การควบคุมกระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น นักวิชาการการออกแบบผลิตภัณฑ์มีความเห็นโดยพ้องกันว่า แม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้จะเป็นผู้กำหนด โครงสร้างต้นทุนถึง 60-80 % ฉะนั้นการจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ก็เช่นกัน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทมากที่สุดควรเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์

หลักการพื้นฐานของการดำเนินการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เป็นการประยุกต์ใช้หลักการของ 4R เข้ามาเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Design and Development Direction) นับตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนความคิด (Design Thinking Stage) ขั้นการออกแบบ (Designing Stage) ซึ่งช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ ก็ได้แก่ ช่วงของการวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product Planning Period) ช่วงการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design Period) ช่วงการผลิตผลิตภัณฑ์ (Product Manufacturing Period) ช่วงการนำไปผลิตภัณฑ์ใช้ (Product Usage Period) และช่วงการกำจัดผลิตภัณฑ์หลังการใช้เสร็จ (Product Disposal Period) สำหรับหลักการของ 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และ การซ่อมบำรุง (Repair) ซึ่งทั้ง 4R ก็จะมีความสัมพันธ์กับแต่ละช่วงเวลาของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แต่ละช่วงเช่นกัน หลักการ 4R ในที่นี้ได้แก่แนวคิดหรือข้อควรคำนึงที่นักออกแบบควรนำมาใช้ เช่น

1. การลด (Reduce) ในที่นี้หมายถึงการลดการใช้ทรัพยากรในช่วงต่างๆของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ( Product Life Cycle) ลง ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยมากจะพบในช่วงการออกแบบ ช่วงการผลิต และการนำไปใช้ อาทิเช่น นับตั้งแต่การลดการใช้ทรัพยากรที่จะใช้ในการออกแบบชิ้นงาน การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต การออกแบบเพื่อลดอัตราการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการออกแบบให้มีการลดขั้นตอน หรือปริมาณ อัตราการใช้พลังงานในระหว่างการผลิต ระหว่างการนำไปใช้งาน เป็นต้น


2. การใช้ซ้ำ (Reuse) หมายถึงการที่จะสามารถนำเอาผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ซึ่งผ่านช่วงการนำไปใช้งานเรียบร้อยหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว พร้อมที่จะเข้าสู่ช่วงของการทำลาย ให้มีการกลับมาใช้ใหม่ ทั้งที่เป็นการใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม ทดแทนเป็นอะไหล่ หรือการผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ตาม ตัวอย่างการออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Design for Reuse) ก็อย่างเช่นการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีชิ้นส่วนบางชิ้นส่วน ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ เมื่อรุ่นแรกหยุดการผลิตแล้วยังสามารถเก็บคืนและนำบางชิ้นส่วนมาใช้ในการผลิตรุ่นต่อไปได้ เช่นการผลิตยนต์หรือเครื่องจักรเพื่อการผลิตวัสดุ เป็นโครงสร้างหลักของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

3. การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หมายถึงการนำผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในช่วงของการทำลายมาผ่านกระบวนการ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ตั้งแต่ช่วงของการวางแผน การออกแบบ หรือ แม้แต่ช่วงของการผลิต ได้แก่ การออกแบบให้ถอดประกอบได้ง่าย (Design for Disassembly) การออกแบบเพื่อการนำกลับมาใช้ใหม่ (Design for Recycle) เช่นการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัตถุดิบพลาสติกหรือกระดาษที่ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น

4. การซ่อมแซม (Repair) หมายถึงการออกแบบให้ง่ายต่อการซ่อมแซม ทั้งนี้มีแนวคิดที่ว่า หากผลิตภัณฑ์สามารถซ่อมแซมหรือการบำรุงรักษาได้ง่ายก็จะเป็นการยืดอายุช่วงชีวิตของการใช้งาน (Extended Usage Life) ซึ่งท้ายที่สุดสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การซ่อมบำรุงนี้เกิดภายในช่วงชีวิตของการใช้งานเท่านั้น แตกต่างจากการใช้ซ้ำ (Reuse) ซึ่งเป็นการนำชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่เสร็จจากช่วงการใช้งานแล้วมาใช้อีกครั้ง การซ่อมบำรุงนี้ได้แก่ การออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานหรือการซ่อมแซม (Design for serviceability / Design for maintainability) เช่นการออกแบบให้เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย เป็นต้น



หลักการออกแบบบรรจจุภัณฑ์เพื่อมวลชน (Universal Packaging Design Principles)
     " Universal Design is the design and composition of an environment so that it can be accessed, understood and used to the greatest extent possible by all people, regardless of their age, size or disability. This includes public places in the built environment such as buildings, streets or spaces that the public have access to; products and services provided in those places; and systems that are available including information and communications technology (ICT)."(Disability Act, 2005)
      Universal Design is the design and composition of an environment so that it can be accessed, understood and used to the greatest extent possible by all people regardless of their age, size, ability or disability. An environment (or any building, product, or service in that environment) should be designed to meet the needs of all people who wish to use it. This is not a special requirement, for the benefit of only a minority of the population. It is a fundamental condition of good design. If an environment is accessible, usable, convenient and a pleasure to use, everyone benefits. By considering the diverse needs and abilities of all throughout the design process, universal design creates products, services and environments that meet peoples' needs. Simply put, universal design is good design.
      Designing any product or environment involves the consideration of many factors, including aesthetics, engineering options, environmental issues, industry standards, safety concerns, and cost. Often, products and environments are designed for the average user. In contrast, UD is "the design of products and environments to be usable by all people, to the greatest extent possible, without the need for adaptation or specialized design" (www.ncsu.edu/ncsu/design/cud/pubs_p/docs/poster.pdf).
      For example, a standard door is not accessible to everyone. If a large switch is installed, the door becomes accessible to more people, including some wheelchair users. Applying UD principles could lead to the installation of sensors that signal the door to open when anyone approaches, making the building accessible to everyone—a small child, a man carrying a large box, an elderly woman, a person using a walker or wheelchair.
      When designers apply UD principles, their products and environments meet the needs of potential users with a variety of characteristics. Disability is just one of many characteristics that an individual might possess. For example, one person could be five feet four inches tall, female, forty years old, a poor reader, and deaf. All of these characteristics, including her deafness, should be considered when developing a product or environment she and others might use.
     Making a product or environment accessible to people with disabilities often benefits others. For example, sidewalk curb cuts, designed to make sidewalks and streets accessible to those using wheelchairs, are today often used by kids on skateboards, parents with baby strollers, and delivery staff with rolling carts. When television displays in noisy areas of airports and restaurants are captioned, they are more accessible to people who are deaf and everyone else.(http://www.washington.edu/doit/universal-design-instruction-udi-definition-principles-guidelines-and-examples)      โดยสรุปแล้วการออกแบบเพื่อมวลชนนั้นหมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ใดๆที่ต้องเกี่ยวข้องการจัดการนำเอาองค์ประกอบและปัจจัยของสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกที่รวมไปถึง วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ทั่วไปในสังคมและชีวิตประจำวัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุตและใช้งานได้กับทุกคน โดยไม่มีเงื่อนไขหรือให้มีเงื่อนไขใดๆน้อยที่สุด

หลักการออกแบบผลิตภัณ์เพื่อมวลชน
      Centre for Excellence in Universal Design ได้กล่าวถึงที่มาเอาไว้ว่า เป็นหลักการที่พัฒนาขึ้นในปี คศ.1997 จากการที่มีกลุ่มทำงานของสถาปนิก นักออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรและนักวิจัยออกแบบสิ่งแวดล้อม ที่ North Carolina State University สหรัฐอเมริกา นำโดย Ronald Mace โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแง่คิดและแนวทางให้แก่การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบด้าน สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์และการสื่อสาร โดยที่หลักการนี้ได้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อโดยศูนย์การออกแบบเพื่อมวลชนของมหาวิทยาลัย ใช้เพื่อสอนนักออกแบบและกลุ่มลูกค้าผู้ใช้ ผู้บริโภค ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาผลงาน ใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและกระบวนการออกแบบ โดยได้ตั้งเกณฑ์การพิจารณาคุณลักษณะจากเพื่อการใช้ประโยชน์และเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทาง Centre for Excellence in Universal Design ของ Ireland ได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับหล้กการของการออกแบบตามแนวคิดเพื่อมวลชน คนหมู่มากให้ได้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายและเป็นสากลนั้นมี 7 ข้อ Principles of Universal Designได้แก่ http://universaldesign.ie/What-is-Universal-Design/The-7-Principles/  เอกสารประกอบ

1. ความเสมอภาคในการใช้งาน (Equitable Use) คือ การที่งานออกแบบสามารถให้ความเสมอภาคในการเข้าถึง การใช้งาน สามารถใช้งานได้กับมนุษย์ได้ทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ มีการแบง่แยกและเลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มคน เช่น ออกแบบให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกันเป็นสากล โดยไม่ระบุหรือแยกเพศ-วัย หรือให้ใช้งานง่ายสำหรับทุกคน ทำให้เกิดความพึงพอใจ ประทับใจในรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏแก่ทุกคนเป็นต้น 

2. ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility in Use) คือ หลักของความยืดหยุ่นในสมรรถนะการใช้งาน ความถนัด ความชอบและความพึงพอใจ เช่น สามารถใช้งานได้กับผู้ที่ถนัดซ้าย-ขวา  การปรับระดับ ความสูง-ต่ำได้ตามความสูงและสรีระของผ้ใูช้ เป็นต้น

3. ความง่ายในการใช้งาน (Simple and Intuitive Use) เป็นหลักการแห่งความเรียบง่ายในการใช้งานผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนและการทําให้เข้าใจได้ดีได้ ทั้งตามสัญชาตญาณแห่งการรับรู้ ตามประสบการณ์ ทักษะ ภาษาและการเรียนรู้ ทุกระดับ เป็นต้น 

4. การสื่อสารรับรู้ข้อมูล (Perceptible Information) คือ การที่งานออกแบบต้องมีข้อมลูประกอบการใช้งานที่เพียงพอแก่การเข้าใจ การรับรู้และการยอมรับกันได้อย่างเป็นสากล 

5. การเผื่อระวังความคลาดเคลื่อน (Tolerance for Error) คือ การออกแบบที่ช่วยลดอันตรายและผลกระทบของการกระทำที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ความทนทานตอเกิดการใช้งานที่ผิดพลาด และมุ่งเน้นความปลอดภัย เช่น การมีระบบ ป้องกันอันตราย หากมีการใช้งานผิดพลาด รวมทั้งไม่ชำรุดเสียหายได้โดยง่าย เป็นต้น 

6.การทุ่นแรง ( Low Physical Effort) คือหลักการออกแบบที่สามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและความสะดวกสบาย และเผื่อความเหนื่อยล้าทางร่างกายหรือสนับสนุนวิธีการใช้งานหรือการจัดเก็บเมื่อเลิกใช้งาน การช่วยทุ่นแรงกาย ไม่ต้องออกแรงมาก เช่น ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ให้มีหูหิ้วที่กระชับมือ เป็นต้น 

7.ความเหมาะสมของขนาดและพื้นที่ใช้งาน (Size and Space for Approach and Use) คือ การที่จะต้องออกแบบโดยคำนึงถึงความเหมาะสมในแง่ของขนาดและสถานที่หรือพื้นที่ของการใช้งานผลิตภัณฑ์กับกิจกรรม พฤติกรรม สภาพสรีระร่างกายของมนุษย์ ให้เหมาะสมกับการกำกับ ดูแล เข้าถึง ปรับตัวร่วมเข้าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      เมื่อนําหลักการหรือแนวคิดของการออกแบบเพื่อมวลชนทั้ง 7 ประการดังกล่าวมาปรับใช้รวมกันกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใดๆ จะเห็นว่าเป็นหลักการที่สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ซึงแนวคิดของ Universal Design(UD)นี้ สามารถแจกแจงได้เป็นกฎ 7 ประการสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ดังเช่นตั้งเป็นเกณฑ์หรือแนวทางของการออกแบบเอาไว้ว่า
1. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ทุกคน (Equitable product for all) 
2. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีโครงสร้างและส่วนควบ ที่ง่าย สะดวกต่อการจับ ถือ หิ้ว ต่อทุกเพศทุกวัย สามารถเคลื่อนย้ายนำพาไปได้สะดวก (Easy to handle & portable for all ) 
3. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีความง่ายต่อการเปิดใช้งาน (Easy to use) 
4. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปลักษณ์ที่สื่อการรับรู้ทางสายตาให้เข้าใจได้โดยง่ายน่าสนใจน่าทดลองใช้ (Attractive Appeal & Aesthetic to all ) 
5. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้สื่อถึงความปลอดภัยขณะใช้งานและการจัดเก็บ 
(Safety to use) 
6. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้โครงสร้างเป็นกลไกช่วยเปิด-ดึงใช้ผลิตภัณฑ์ได้ง่าย(Easy to operate & open) 
7. ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีโครงสร้างง่ายต่อการรวมหีบห่อและขนาดพื้นที่การจัดเก็บในชั้นวาง (Easy to pack and store)

http://www.adaptiveenvironments.org/universal-design

No comments:

Post a Comment