Monday, January 30, 2017

สรุปผลงานการวิจัย เรื่องการออกแบบพัฒนผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท 2559


ชื่อเรื่องวิจัย เรื่องการออกแบบพัฒนผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท 

ชื่อผู้วิจัย ประชิด ทิณบุตร
ปีที่วิจัย 2559

บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตวัตถุดิบถ่านดูดกลิ่น 2) ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าถ่านดูดกลิ่น สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท และ 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีต่อภาพรวมผลงานการพัฒนาเครื่องมือการผลิต ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าถ่านดูดกลิ่น ภายใต้แนวคิดการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ใช้วิธีการวิจัยแบบพัฒนาทดลองตามกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชากรที่ศึกษาพัฒนาคือ เครื่องมือการผลิต ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่น ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการวิจัย โดยมีการประเมินความพึงพอใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของผลงาน โดยตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันได้แก่ กลุ่มตัวอย่างในฐานะของกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา/นักวิจัย นักวิชาการพัฒนาชุมชน/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ นักออกแบบผลิตภัณฑ์/นักออกแบบบรรจุภัณฑ์/นักออกแบบกราฟิก และตัวแทนของกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกและการเลือกแบบบังเอิญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 68 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานและการสนทนาแบบกลุ่มย่อย การสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลจากการวิจัยพัฒนาทำให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องปั้นเม็ดถ่าน CRU-CPMM-59 ได้ผลงานการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ซึ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจในภาพรวมผลงานการออกแบบพัฒนาทุกรายการ โดยมีค่าสรุปผลรวมทุกด้านอยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68

คำสำคัญ : การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ ถ่านดูดกลิ่น
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท

Research Title :economical products and packaging design of charcoal deodorizer for small community enterprise group of Chainat province.

Researcher Prachid Tinnabutr
Research Year 2016

Abstract

The research objectives are 1) to develop the tools to increase efficiency production of charcoal deodorizer materials. 2) to design and develop the charcoal deodorizer packaging for a small community enterprise, Chainat province. 3) to evaluate an efficiency and satisfaction of purposed designs under the concept of eco – design. This experimental research participated in the target community enterprise group with a corporation from local communities, where groups of locals assist in the design and development phrase. Chosen by a random sample method, a group of total 68 stakeholders including entrepreneur/marketing, scholar/advisor/researcher, social worker/government agent/government institute, professional product designer/packaging designer/graphic designer and regular consumer evaluate the effectiveness and satisfaction of the outcomes. The final designs are presented to a small group of people, using a focus group method, before collecting a questionnaires. The evaluation is done through both online questionnaires and in person. The descriptive statistics used in this experimental research include percents, mean, and standard deviation.

The inventions from this research, CRU-CPMM-59 charcoal pellets molding machines prototype and Eco charcoal deodorizer products and packaging, involve a corporation from local communities that leads to the set of products with its unique branding identity of Chai Nat agricultural community enterprise products as well as strengthen market perception and competitiveness. According to the selected groups of experts, the evaluation results in a mean of 4.61, S.D. 0.68

Keywords: Eco charcoal deodorizer products and packaging design, Small community enterprise group, Chai Nat Province.


Saturday, January 7, 2017

แบบสำรวจความพึงพอใจในผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท

   ขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมทำแบบสำรวจความพึงพอใจในผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท เพื่อเป็นประโยชน์เชิงลึกแก่การวิจัยและให้เกิดผลต่อการพัฒนาสินค้าชุมชนต่อไป
        กรุณาตอบคำถามตาม กรอกข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * ดาวแดงกำกับไว้ทุกข้อทุกส่วน จึงจะทำหน้า ถัดไปได้ โดยระบบจะแจ้งเตือนให้เห็นเป็นพื้นแดงในรายการ/ข้อที่ท่านยังไม่ตอบ เลื่อนดูภาพ-ข้อความ ถาม-ตอบ ให้คลิกแถบสีเทาเลื่อนขึ้นลงจากฝั่งข้างขวา
        ผู้วิจัยขอขอบคุณทุกท่าน มา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง และขอความกรุณาตอบ ภายในวันที่ 15 มกราคม 2560 นี้
        ผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Friday, January 6, 2017

การทดลองเผาถ่านไม้ไผ่และไม้เนื้ออ่อนด้วยเตาถังน้ำมัน แนวนอนและแนวตั้ง

การทดลองเผาถ่านด้วยเตาถังน้ำมัน แนวนอนและแนวตั้ง โดย ลุงเด่น กาฬภักดี และ ผศ.ประชิด  ทิณบุตร ณ บ้านบ่อม่วง ต.สุขเดือนห้า อ.เนินขาม จังหวัดชัยนาท 2559 การวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท
รายการเชื่อมโยงที่น่าสนใจ

Friday, July 15, 2016

ผศ.ประชิด ทิณบุตร นักวิจัยปฏิบัติการคัดเลือกวัสดุถ่านคาร์บอนร่วมกับผู้ประกอบการ

ผศ.ประชิด ทิณบุตร นักวิจัย ปฏิบัติการคัดเลือกวัสดุถ่านคาร์บอนร่วมกับผู้ประกอบการ ณ บ้านบ่อม่วง อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. ร่วมปฏิบัติการร่อนถ่านไม้ไผ่เตรียมวัสดุถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ Green Charcoal odor absorber เพื่อเป็นต้นแบบสร้างรายได้ให้ชุมชนกลุ่มอื่นๆได้อีก





Monday, July 11, 2016

เครื่องปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) CRU-PMM#1

ผลงานการมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) ให้สามารถผสม บด ปั่น ปั้น เศษ ผงถ่าน จากถ่านไม้เบญจพรรณ ถ่านชีวมวลทางการเกษตร เป็นเม็ดขนาดเล็กเปิดผิวหน้ารับกลิ่น เพื่อสะดวกต่อการนำไปบรรจุ ใช้เป็นวัสดุส่วนร่วมทำหน้าที่ดูดกลิ่นได้สะดวกต่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปลักษณ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ




แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์เพื่อให้แกร่งเป็นคาร์บอน เพื่อนำผลพัฒนาทดลองไปพัฒนาเป็นวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นและประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ร่วมกับคุณสมปอง เจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง หันคาชัยนาท ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559





การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร และทีมงานวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี นักศึกษาช่วยงานวิจัย นายดนุนัย พลศรี ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลวิจัยสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง ตำบลสุขเดือนห้า อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยมี ลุงเด่น – ป้าแสน กาฬภักดี และสมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากถ่านและการเผาถ่านให้เป็นถ่านคาร์บอน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2559