Friday, July 15, 2016

ผศ.ประชิด ทิณบุตร นักวิจัยปฏิบัติการคัดเลือกวัสดุถ่านคาร์บอนร่วมกับผู้ประกอบการ

ผศ.ประชิด ทิณบุตร นักวิจัย ปฏิบัติการคัดเลือกวัสดุถ่านคาร์บอนร่วมกับผู้ประกอบการ ณ บ้านบ่อม่วง อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. ร่วมปฏิบัติการร่อนถ่านไม้ไผ่เตรียมวัสดุถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ Green Charcoal odor absorber เพื่อเป็นต้นแบบสร้างรายได้ให้ชุมชนกลุ่มอื่นๆได้อีก





Monday, July 11, 2016

เครื่องปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) CRU-PMM#1

ผลงานการมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) ให้สามารถผสม บด ปั่น ปั้น เศษ ผงถ่าน จากถ่านไม้เบญจพรรณ ถ่านชีวมวลทางการเกษตร เป็นเม็ดขนาดเล็กเปิดผิวหน้ารับกลิ่น เพื่อสะดวกต่อการนำไปบรรจุ ใช้เป็นวัสดุส่วนร่วมทำหน้าที่ดูดกลิ่นได้สะดวกต่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปลักษณ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ




แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์เพื่อให้แกร่งเป็นคาร์บอน เพื่อนำผลพัฒนาทดลองไปพัฒนาเป็นวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นและประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ร่วมกับคุณสมปอง เจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง หันคาชัยนาท ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559





การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร และทีมงานวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี นักศึกษาช่วยงานวิจัย นายดนุนัย พลศรี ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลวิจัยสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง ตำบลสุขเดือนห้า อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยมี ลุงเด่น – ป้าแสน กาฬภักดี และสมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากถ่านและการเผาถ่านให้เป็นถ่านคาร์บอน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2559







Wednesday, June 29, 2016

ปฏิบัติงานภาคสนามและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องผลิตปั้นเม็ดถ่าน

ลงพื้นที่วิจัยชัยนาท ปฏิบัติงานภาคสนามและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องผลิตปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal Pellet Molder Machine) ผงสมุนไพร ผงถ่านไม้เบญจพรรณ ผงถ่านไม้ไผ่ เพื่อใช้เป็นวัตถุดูดกลิ่น ร่วมกับจ่าเอกสมบัติ วิสุทธิพันธุ์ ที่ปรึกษา ผู้ร่วมประดิษฐ์ ผู้ร่วมพัฒนาเครื่องจักรผลิตวัสดุป้อนโครงการวิจัย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท # CRU-PMM 2016 : Chandrakasem Rajabhat University Pellet Moulder Machine 1 เมษายน 2559


เก็บข้อมูลวิจัยศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการงานบริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาอาชีพ

PAR : ผศ.ประชิด ทิณบุตร มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรร่วมกับชุมชน ปราชญ์ชุมชน อาจารย์รัตนา พัฒนานุพงษ์ เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา แหล่งวัตถุดิบ ความต้องการงานบริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาอาชีพเสริมในพื้นที่บ้านคลองใหญ่ ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ที่ทำการกลุ่ม ศูนย์เรียนรู้มีชีวิตของกลุ่มเกษตรกรบ้านคลองใหญ่ 

เก็บข้อมูลงานวิจัยภาคสนามงบรายได้ปี 2559

ลงพื้นที่ชัยนาทติดตามผลสัมฤทธิ์การนำผลงานวิจัยสู่การผลิตและการตลาดจริงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้สนับสนุนงานวิจัยไปในปี 2558 และเก็บข้อมูลงานวิจัยภาคสนามงบรายได้ปี 2559 ศึกษาตลาดเพื่อชุมชน ณ ที่งานกาชาดและมหกรรมหุ่นนกประจำปี จัดโดยจังหวัดชัยนาท 10 กุมภาพันธ์ 2559

Sunday, February 14, 2016

กิจกรรมการวิจัยการออกแบบพัฒนาถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ โดยการมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล และการบริการวิชาการชุมชน

      การวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community Paticipatory Research) ผู้วิจัยกำหนดกรอบศึกษาปัญหาของชุมชนผู้ประกอบการถ่านดูดกลิ่นในเขตอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยใช้พื้นที่เป้าหมายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน โดยร่วมศึกษาประเด็นปัญหาร่วมกับปราชญ์ชุมชน จ่าเอกสมบัติ วิสุทธิ์พันธ์ ในชุมชนบ้านแหลมทอง เป็นศูนย์กลางดำเนินงาน โดยใช้ประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่น เป็นเรื่องหลักการพัฒนา ซึ่งวิธีที่จะได้ข้อมูลตรงตามความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของกลุ่มบุคคลนั้น ใช้วิธีการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การดำเนินการ การจัดการตามแผน การกำกับติดตาม การประเมินผล และการรับประโยชน์จากการพัฒนาโดยถือว่าการพัฒนานั้นเป็นของประชาชนในชุมชนที่้เป็นพื้นที่เป้าหมาย ร่วมทำการพัฒนาทดลองและหรือในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจได้รับการถ่ายทอด เผยแผ่ความรู้
       ผศ.ประชิด ทิณบุตร และผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี จึงได้ลงพื้นที่วิจัย เพื่อการมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล และการบริการวิชาการชุมชนของทีมงานวิจัย โดยการร่วมเป็นวิทยากรออกแบบพัฒนาถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Charcoal Odor Absorber Product Design and Development) และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาชุมชนกับจ่าสมบัติ วิสูตรพันธ์ุ ปราชญ์ชาวบ้านและที่ปรึกษาโครงการวิจัยในพื้นที่ ตามหลักสูตร ปฏิบัติการปรับปัญญาพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงเวลาที่เปิดฝึกอบรมคือ





รุ่นที่  1   ระหว่างวันที่   2  เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559  ถึงวันที่   4  เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
รุ่นที่  2   ระหว่างวันที่   9  เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559  ถึงวันที่  11 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
รุ่นที่  3   ระหว่างวันที่  16 เดือน  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559  ถึงวันที่  18 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง อ.หันคา จ.ชัยนาท
โดยรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าอบรมเป็นเกษตรกรและประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมอบรมสัมมนา จำนวนทั้งสิ้น  30 คน รวมทุกรุ่น 90 คน