
Green Charcoal Product Development : จัดการความรู้การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท 2559 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : Economical products and packaging design of charcoal deodorizer for small community enterprise group of Chainat, 2016. by Assistant Professor Prachid Tinnabutr
Friday, July 15, 2016
ผศ.ประชิด ทิณบุตร นักวิจัยปฏิบัติการคัดเลือกวัสดุถ่านคาร์บอนร่วมกับผู้ประกอบการ

Monday, July 11, 2016
เครื่องปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) CRU-PMM#1
ผลงานการมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) ให้สามารถผสม บด ปั่น ปั้น เศษ ผงถ่าน จากถ่านไม้เบญจพรรณ ถ่านชีวมวลทางการเกษตร เป็นเม็ดขนาดเล็กเปิดผิวหน้ารับกลิ่น เพื่อสะดวกต่อการนำไปบรรจุ ใช้เป็นวัสดุส่วนร่วมทำหน้าที่ดูดกลิ่นได้สะดวกต่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปลักษณ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์เพื่อให้แกร่งเป็นคาร์บอน เพื่อนำผลพัฒนาทดลองไปพัฒนาเป็นวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นและประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ร่วมกับคุณสมปอง เจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง หันคาชัยนาท ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559
การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร และทีมงานวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี นักศึกษาช่วยงานวิจัย นายดนุนัย พลศรี ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลวิจัยสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง ตำบลสุขเดือนห้า อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยมี ลุงเด่น – ป้าแสน กาฬภักดี และสมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากถ่านและการเผาถ่านให้เป็นถ่านคาร์บอน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2559
Subscribe to:
Posts (Atom)