ผศ.ประชิด ทิณบุตร นักวิจัย ปฏิบัติการคัดเลือกวัสดุถ่านคาร์บอนร่วมกับผู้ประกอบการ ณ บ้านบ่อม่วง อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท. ร่วมปฏิบัติการร่อนถ่านไม้ไผ่เตรียมวัสดุถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ Green Charcoal odor absorber เพื่อเป็นต้นแบบสร้างรายได้ให้ชุมชนกลุ่มอื่นๆได้อีก
Green Charcoal Product Development : จัดการความรู้การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก จังหวัดชัยนาท 2559 โดย ผศ.ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม : Economical products and packaging design of charcoal deodorizer for small community enterprise group of Chainat, 2016. by Assistant Professor Prachid Tinnabutr
Friday, July 15, 2016
Monday, July 11, 2016
เครื่องปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) CRU-PMM#1
ผลงานการมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal pellet molder machine) ให้สามารถผสม บด ปั่น ปั้น เศษ ผงถ่าน จากถ่านไม้เบญจพรรณ ถ่านชีวมวลทางการเกษตร เป็นเม็ดขนาดเล็กเปิดผิวหน้ารับกลิ่น เพื่อสะดวกต่อการนำไปบรรจุ ใช้เป็นวัสดุส่วนร่วมทำหน้าที่ดูดกลิ่นได้สะดวกต่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปลักษณ์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ได้ง่าย หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีส่วนร่วม ศึกษาวิจัยทดลอง ห่อไม้ไผ่ด้วยฟอยด์เพื่อให้แกร่งเป็นคาร์บอน เพื่อนำผลพัฒนาทดลองไปพัฒนาเป็นวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นและประโยชน์ใช้สอยอื่นๆ ร่วมกับคุณสมปอง เจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง หันคาชัยนาท ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559
การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร และทีมงานวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี นักศึกษาช่วยงานวิจัย นายดนุนัย พลศรี ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลวิจัยสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการเผาถ่านด้วยเตาแนวนอนและแนวตั้ง ณ ที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกถั่วดาวอินคา บ้านบ่อม่วง ตำบลสุขเดือนห้า อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยมี ลุงเด่น – ป้าแสน กาฬภักดี และสมาชิกกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากถ่านและการเผาถ่านให้เป็นถ่านคาร์บอน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2559
Wednesday, June 29, 2016
ปฏิบัติงานภาคสนามและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องผลิตปั้นเม็ดถ่าน
ลงพื้นที่วิจัยชัยนาท ปฏิบัติงานภาคสนามและติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเครื่องผลิตปั้นเม็ดถ่าน (Charcoal Pellet Molder Machine) ผงสมุนไพร ผงถ่านไม้เบญจพรรณ ผงถ่านไม้ไผ่ เพื่อใช้เป็นวัตถุดูดกลิ่น ร่วมกับจ่าเอกสมบัติ วิสุทธิพันธุ์ ที่ปรึกษา ผู้ร่วมประดิษฐ์ ผู้ร่วมพัฒนาเครื่องจักรผลิตวัสดุป้อนโครงการวิจัย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท # CRU-PMM 2016 : Chandrakasem Rajabhat University Pellet Moulder Machine 1 เมษายน 2559
เก็บข้อมูลวิจัยศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการงานบริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาอาชีพ
PAR : ผศ.ประชิด ทิณบุตร มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรร่วมกับชุมชน ปราชญ์ชุมชน อาจารย์รัตนา พัฒนานุพงษ์ เพื่อเก็บข้อมูลวิจัยศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา แหล่งวัตถุดิบ ความต้องการงานบริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาอาชีพเสริมในพื้นที่บ้านคลองใหญ่ ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ที่ทำการกลุ่ม ศูนย์เรียนรู้มีชีวิตของกลุ่มเกษตรกรบ้านคลองใหญ่
เก็บข้อมูลงานวิจัยภาคสนามงบรายได้ปี 2559
ลงพื้นที่ชัยนาทติดตามผลสัมฤทธิ์การนำผลงานวิจัยสู่การผลิตและการตลาดจริงของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้สนับสนุนงานวิจัยไปในปี 2558 และเก็บข้อมูลงานวิจัยภาคสนามงบรายได้ปี 2559 ศึกษาตลาดเพื่อชุมชน ณ ที่งานกาชาดและมหกรรมหุ่นนกประจำปี จัดโดยจังหวัดชัยนาท 10 กุมภาพันธ์ 2559
Sunday, February 14, 2016
กิจกรรมการวิจัยการออกแบบพัฒนาถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ โดยการมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล และการบริการวิชาการชุมชน
การวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน (Community Paticipatory Research) ผู้วิจัยกำหนดกรอบศึกษาปัญหาของชุมชนผู้ประกอบการถ่านดูดกลิ่นในเขตอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยใช้พื้นที่เป้าหมายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน โดยร่วมศึกษาประเด็นปัญหาร่วมกับปราชญ์ชุมชน จ่าเอกสมบัติ วิสุทธิ์พันธ์ ในชุมชนบ้านแหลมทอง เป็นศูนย์กลางดำเนินงาน โดยใช้ประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่น เป็นเรื่องหลักการพัฒนา ซึ่งวิธีที่จะได้ข้อมูลตรงตามความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของกลุ่มบุคคลนั้น ใช้วิธีการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การดำเนินการ การจัดการตามแผน การกำกับติดตาม การประเมินผล และการรับประโยชน์จากการพัฒนาโดยถือว่าการพัฒนานั้นเป็นของประชาชนในชุมชนที่้เป็นพื้นที่เป้าหมาย ร่วมทำการพัฒนาทดลองและหรือในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจได้รับการถ่ายทอด เผยแผ่ความรู้
ผศ.ประชิด ทิณบุตร และผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี จึงได้ลงพื้นที่วิจัย เพื่อการมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล และการบริการวิชาการชุมชนของทีมงานวิจัย โดยการร่วมเป็นวิทยากรออกแบบพัฒนาถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Charcoal Odor Absorber Product Design and Development) และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาชุมชนกับจ่าสมบัติ วิสูตรพันธ์ุ ปราชญ์ชาวบ้านและที่ปรึกษาโครงการวิจัยในพื้นที่ ตามหลักสูตร ปฏิบัติการปรับปัญญาพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงเวลาที่เปิดฝึกอบรมคือ
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 4 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 11 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 18 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง อ.หันคา จ.ชัยนาท
โดยรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าอบรมเป็นเกษตรกรและประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมอบรมสัมมนา จำนวนทั้งสิ้น 30 คน รวมทุกรุ่น 90 คน
ผศ.ประชิด ทิณบุตร และผู้ช่วยนักวิจัย นายคณาศักดิ์ พงษ์พาลี จึงได้ลงพื้นที่วิจัย เพื่อการมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูล และการบริการวิชาการชุมชนของทีมงานวิจัย โดยการร่วมเป็นวิทยากรออกแบบพัฒนาถ่านดูดกลิ่นเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Charcoal Odor Absorber Product Design and Development) และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาชุมชนกับจ่าสมบัติ วิสูตรพันธ์ุ ปราชญ์ชาวบ้านและที่ปรึกษาโครงการวิจัยในพื้นที่ ตามหลักสูตร ปฏิบัติการปรับปัญญาพัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงเวลาที่เปิดฝึกอบรมคือ
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 4 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 11 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 18 เดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2559
ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงาน ตำบลหนองแซง อ.หันคา จ.ชัยนาท
โดยรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าอบรมเป็นเกษตรกรและประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วมอบรมสัมมนา จำนวนทั้งสิ้น 30 คน รวมทุกรุ่น 90 คน
Subscribe to:
Posts (Atom)